AttaTam

  เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก   
  ตะกร้าสินค้า (0)
 

จังหวัดพัทลุง


ประวัติเมืองพัทลุง

ที่ตั้งแลอาณาเขต

ภูมิอากาศและภูมิประเทศ

เอกลัษณ์เมืองพัทลุง

สถานที่ท่องเที่ยว

โรงแรม ที่พัก

ร้านอาหาร การเดินทาง



                                          

จังหวัดพัทลุง

ชื่อเมืองพัทลุง

      ในสมัยก่อนชื่อเมืองพัทลุง  ไม่ได้เขียนอย่างที่ปรากฏให้เห็นจาก
หลักฐานพบว่าบนเหรียญอีแปะพัทลุง  
พ.ศ.  2426  เขียนว่า พัททะลุง
และพัตลุง    ในเอกสารของไทย   ใช้ต่างกันมากมายได้แก่    พัตะลุง
พัดทลุง พัทธลุง 
พัตทลุง พัฒลุง พัทลุง ในเอกสารเบอร์นีของอังกฤษ
สมัยรัชกาลที่ 3  เขียนว่า  Bondelun  และ  Merdelong  ของ
นายลามาร์
วิศวกรชาวฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนว่า Bourdelun
ความหมายของชื่อเมือง 
หมายถึงเมืองช้างหรือเมืองเกี่ยวเนื่องด้วยช้าง
ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงหลายประการ  คำว่า  “พัต-พัท-พัทธ”  ยังไม่อาจ
ทราบได้ว่าคำเดิมเขียนอย่างไร คำไหน ทราบเพียงว่าใช้เป็นคำขึ้นต้น
ส่วนคำพื้นเมืองที่เรียกว่า“ตะลุง”แปลว่าเสา
ล่ามช้างหรือไม้หลักผูกช้าง
ชื่อบ้านนามเมืองของพัทลุงที่เกี่ยวกับช้างมีมากหรือจะเรียกว่าเป็น“เมืองช้าง”ก็ได้
โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาในแถบชะรัด
ซึ่งอยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัด มีช้างป่าชุกชุม และใน
ตำนานนางเลือดขาวตำนานเมืองพัทลุงกล่าวว่า ตาสามโม ยายเพชรเป็นหมอสดำหมอเฒ่า
นายกองช้าง เลี้ยงช้าง
ส่งเจ้าพระยากรุงทองทุกปี ต่อมาพระกุมารกับ
นางเลือดขาวก็ได้รับมรดกเป็นนายกองเลี้ยงช้างส่งส่วย
ซึ่งในปัจจุบัน
ชาวบ้านบางส่วนยังคงนับถือ “ตาหมอช้าง”

     จังหวัด เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีประวัติความ
เป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังปรากฏหลักฐานจาก
การค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอในสมัยศรีวิชัย
( พุทธศตวรรษที่ 13 –14 )
บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมชนที่ได้รับ
วัฒนธรรมอินเดียในด้านพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ
เช่น 
พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมากเป็นรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทวดาโดยค้นพบ
บริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำเขาอกทะลุ

      ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุงได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคงภายใต้
การปกครองของกรุงศรีอยุธยา ในสมัย
พระบรมไตรโลกนาถ ได้ปรากฏ
ชื่อเมืองพัทลุง ในกฎหมายพระอัยการนาทหารหัวเมือง พ.ศ.1998 ระบุว่า
เมืองพัทลุง
มีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับได้ว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของ
พระราชอาณาจักร
ทางใต้ ที่ตั้งเมืองพัทลุงในระยะเริ่มแรกนั้นเชื่อกันว่า
ตั้งอยู่ที่เมืองสทิงพระ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน มักจะประสบปัญหาโดน
โจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมาเลย์
อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโจรสลัด
ราแจะอารูและอุยงคตนะ ได้เข้าปล้นสดมภ์โจมตีเผาทำลายเมืองอยู่
เนืองๆ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคเป็น
จังหวัดและอำเภอ ได้ยกเลิกการปกครอง

     ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ด๊ะโต๊ะโมกอล ชาวมุสลิมที่อพยพมาจาก
เมืองสาเลห์ บริเวณหมู่เกาะชวา ซึ่งเป็น
ต้นตระกูลของสุลต่านสุไลมาน
แห่งเมืองสงขลาได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขาย ณ หัวเขาแดง แล้วตั้ง
ประชาคมมุสลิมขึ้น
ตรงนั้นอย่างสงบ ไม่มีการขัดแย้งกับชาวเมืองที่อยู่
มาก่อน ปักหลักอยู่ยาวนานจนมีผู้คนอพยพมาอาศัยอยู่มากขึ้น
ในที่สุด
ก็พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองท่าปลอดภาษี มีเรือสำเภาแวะเข้ามาซื้อ


     บทบาทของดะโต๊ะโมกอลได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรศรีอยุธยา
ด้วยดี พระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็น "ข้าหลวงใหญ่" ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ต่อมาคือท่านสุไลมานบุตรชายคนโต มีหน้าที่ปกครองดูแล
รักษา
ความสงบของพื้นที่ตั้งแต่ตอนล่างของนครศรีธรรมราช มาจดเขต
ปัตตานี ครอบคลุมครึ่งล่างของเมืองตรัง ปะเหลียน
 พัทลุง และสงขลา
นอกจากนี้ก็ต้องเก็บส่วยสาอากรส่งถวายพระเจ้าแผ่นดินที่กรุงศรีอยุธยา
ท่านสุไลมานก็ได้ทำ
หน้าที่นี้เรียบร้อยด้วยดีมาตลอด  ต่อมาได้ย้าย
เมืองสงขลาจากสทิงพระมายังหัวเขาแดงซึ่งมีชัยภูมิป้องกันตนเอง
ได้ดี

      ในสมัยสุลต่านสุไลมาน บุตรของดะโต๊ะโมกอล ได้ส่ง ฟาริซีน้องชาย
ซึ่งเป็นปลัดเมืองมาสร้างเมืองใหม่ที่
เขาชัยบุรี เพื่อป้องกันศัตรูที่จะมา
โจมตีเมืองสงขลาทางบก ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมือง
พัทลุง และ
ได้ย้ายเมืองพัทลุงออกจากเมืองสงขลาตั้งแต่นั้น และตั้งเมือง
อยู่ที่เขาชัยบุรีตลอดมาจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาเมื่อ
ปี พ.ศ.2310

      ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีก
หลายครั้งและได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโทใน
รัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำที่มีความ
สำคัญในการสร้างความ
เจริญและความมั่นคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน
อาทิ พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว)
พระยา
อภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทร์โรจน์วงศ์) ส่วนประชาชนชาวเมืองพัทลุงก็ได้มี
บทบาทในการร่วมมือกับผู้นำ ต่อสู้
ป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง
เช่น เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ. 2328 – 2329) พม่าจัดกองทัพใหญ่ 9 ทัพ
1 ใน 9 ทัพ มีเกงหวุ่นแมงยีเป็นแม่ทัพ ยกลงมาตีทางใต้ ตีได้เมืองกระบุรี
ระนอง ชุมพร ไชยา และนครศรีธรรมราช
 ตามลำดับ

       ขณะที่กำลังจัดไพร่พลอยู่ที่นครศรีธรรมราช เพื่อจะยกมาตี
เมืองพัทลุงและสงขลานั้น พระยาพัทลุงโดยความ
ร่วมมือจากพระมหา
ช่วยแห่งวัดป่าลิไลยก์ ได้รวบรวมชาวพัทลุงประมาณ 1,000 คน ยกออก
ไปตั้งขัดตาทัพที่คลอง
ท่าเสม็ด จนกระทั่งทัพของสมเด็จกรมพระราชวัง
บวรมหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 ทรงยกกองทัพมาช่วย
หัวเมือง
ปักษ์ใต้ ตีทัพพม่าแตกหนีไป พระมหาช่วยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขา
แล้วแต่งตั้งเป็นพระยาทุกขราษฎร์ช่วยราชการเมืองพัทลุง นอกจาก
สงครามกับพม่าแล้วชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ของประเทศชาติในหัวเมืองภาคใต้ เพราะปรากฏอยู่เสมอว่า
ทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุง พร้อมด้วยเสบียงอาหาร
ไปทำสงครามปราบปรามกบฏในหัวเมืองมลายูเช่น กบฏไทรบุรี พ.ศ.2373
และพ.ศ.2381 ซึ่งบทบาท ดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมือง
พัทลุง ทางด้านการเมือง การปกครองในอดีตเป็นอย่างดี 


      ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการ
ปกครองเป็นแบบเทศาภิบาลใน พ.ศ. 
2437 และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2439 ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ
นครศรีธรรมราช
 พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7 ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม
สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ
อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร   อำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จน
กระทั่งพ.ศ. 2467 พระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้
เส้นทางรถไฟ และสะดวกในด้านติดต่อกับเมืองต่างๆ จากอดีตถึง
ปัจจุบัน เมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง
สถานที่เคยเป็นที่ตั้งเมือง
พัทลุงมา ได้แก่

  โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน

  บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง

  เขาชัยบุรี(เขาเมือง) ปัจจุบัน เขต 3 ตำบล คือตำบลชัยบุรี
อำเภอเมืองพัทลุง

  ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

  เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อ.เมืองพัทลุง

  บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง

  บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง

  บ้านโคกสูง ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลลำปำ อ.เมืองพัทลุง

           

      แบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้เมืองพัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง
ในปัจจุบันจังหวัดพัทลุง แบ่งเขตการปกครองออก
เป็น 10 อำเภอ 1
กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน
อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหรา
อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอ
ศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอบางแก้ว และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์ 


      นอกจากด้านการเมืองการปกครองแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง
คือ ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
เมืองพัทลุงเคยมีชื่อเสียงในการละเล่น
พื้นเมืองคือหนังตะลุง มโนราห์ ลิเกป่า ส่วนด้านศาสนา ได้มีการทะนุบำรุง
พระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีต มีการพระราชทานพื้นที่พระกัลปานา วัดเขียนบางแก้ว วัดสทัง วัดพะโค๊ะ เพื่อบำรุงรักษาวัดให้เจริญรุ่งเรืองเป็น
ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา

Advertising Zone    Close














 
 
 
Online:  1
Visits:  5,126
Today:  2
PageView/Month:  37

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com